Methosulfate คืออะไร ใช่ Sulfate Free หรือไม่
หลายคนอาจเคยได้เห็นส่วนประกอบที่มีชื่อต่อท้ายว่า Methosulfate (เมโทซัลเฟต) อาจรู้สึกแปลกตา เกลืออะไรทำไมชื่อยาวขนาดนี้?! นี่ยังไม่รวมชื่อหน้าอีกนะ เราจะพาคุณมารู้จักกับเรื่องราวของ Surfactant กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้กัน
1.BTMS, CTMS, STMS คืออะไร
2.Methosulfate คืออะไร
3.ทำไมต้อง Sulfate Free
4.แล้ว Methosulfate ใช่ Sulfate Free หรือเปล่านะ
5.Cationic Surfactant มีอะไรบ้าง ? ต่างกันอย่างไร
6.คุณสมบัติ Behentrimonium Methosulfate
7.เทรนด์ตลาดโลกที่หันมาสนใจผลิตภัณฑ์อ่อนโยน
8.สรุปแล้ว Sulfate Free ดีอย่างไร
9.ข้อจำกัดการใช้ในกฎหมาย
10.ข้อแนะนำในการใช้
BTMS, CTMS, STMS, BTAC, CTAC, STAC คืออะไร
Behentrimonium Methosulfate (BTMS), Cetrimonium Methosulfate (CTMS), Stearyl Trimethyl Ammonium Methosulfate (STMS), Behentrimonium Chloride (BTAC), Cetrimonium Chloride (CTAC), Stearyl Trimethyl Ammonium Chloride (STAC)
คือ Cationic Surfactant กลุ่ม Quaternary Ammonium ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล เพื่อสุขอนามัย และการบำรุงต่างๆ
Methosulfate คืออะไร
Methosulfate คือ เกลือของ Surfactant กลุ่มที่กล่าวมา แม้จะมีคำว่า Sulfate เป็นส่วนประกอบของชื่อก็ตาม แต่ไม่ได้รุนแรงแบบ Sulfate ที่เรารู้จักกันนะ
แท้จริงแล้ว Sulfate Free คืออะไร
Sulfate – Free ถูกเรียกหาแรกๆในผลิตภัณฑ์กลุ่มชำระล้าง เพราะส่วนประกอบหลักของผลิตภัณฑ์ชำระล้างคือ Sodium lauryl sulfate (SLS) หรือ Sodium laureth sulfate (SLES) ซึ่งมีคุณสมบัติทำความสะอาดได้ดี กำจัดคราบไขมันสิ่งสกปรกได้หมดจด แต่ลืมไปหรือเปล่า ว่าผิวของเราก็ยังต้องการไขมันเป็นส่วนประกอบในการเป็นเกราะป้องกันของผิวอยู่
ด้วยคุณสมบัติการกำจัดไขมันที่ดีของ SLS-SLES จึงทำให้กลุ่มไขมันที่จำเป็นต่อผิวถูกกำจัดออกไปด้วย เพิ่มการสูญเสียน้ำ ขาดความยืดหยุ่น ผิวแห้งและอักเสบได้ง่ายมากขึ้น ทำให้เส้นผมแห้งขาดความเงางาม หนังศีรษะระคายเคือง ผู้บริโภคจึงพยายามมองหาผลิตภัณฑ์ SLS Free หรือ SLES Free ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่า ‘Sulfate Free’ ดังนั้น ส่วนประกอบ Sulfate อื่นๆ จึงโดนหางเลขไปด้วยเพื่อง่ายต่อการเลือกหยิบซื้อ
แล้ว Methosulfate ใช่ Sulfate Free หรือเปล่านะ
Methosulfate เมื่อดูจากโครงสร้าง ก็ยังเห็น SO4 อยู่ในนั้นนี่นา จริงๆแล้ว sulfate ที่หลายคนเรียกหาถึงผลิตภัณฑ์ sulfate – free นั้น หมายถึง Sodium lauryl sulfate (SLS) หรือ Sodium laureth sulfate (SLES) ฉะนั้น sulfate ที่อยู่ในโครงสร้าง ของ Methosulfate จึงไม่ใช่ sulfate ตัวร้ายที่หลายคนพยายามหลีกเลี่ยงนั่นเอง Methosulfate ได้ผ่านกระบวนการการผลิต เพื่อลดความเป็นพิษของ sulfate แล้ว จึงไม่ได้อันตรายและน่ากลัวอย่างที่คิด
Cationic Surfactant มีอะไรบ้าง ? ต่างกันอย่างไร
Behentrimonium Methosulfate (BTMS), Cetrimonium Methosulfate (CTMS), Stearyl Trimethyl Ammonium Methosulfate (STMS) Behentrimonium Chloride (BTAC), Cetrimonium Chloride (CTAC), Stearyl Trimethyl Ammonium Chloride (STAC)
เมื่อเปรียบเทียบ Behentrimonium Chloride กับ Behentrimonium Methosulfate ใน เกลือที่ต่างกัน ให้คุณสมบัติที่ต่างกันเช่นกัน คือ
มีการศึกษาระบุว่า เกลือ Chloride ทำให้เซลล์ตายมากกว่า และระคายเคืองกว่า Methosulfate แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า เกิดขึ้นได้จนเห็นความแตกต่างทางสถิติไหม ในส่วนของขนาดโมเลกุลรวมต่างกัน จึงมีผลต่อ ความนุ่ม ความเงางาม และน้ำหนักของเส้นผมด้วยเช่นกัน
โครงสร้างต่างกัน คุณสมบัติก็ต่างกัน
และเมื่อเปรียบเทียบ กับชนิดของโครงสร้างโดยมีเกลือชนิดเดียวกัน พบว่า จำนวน Carbon เยอะน้ำหนักเยอะเลยเคลือบผมมีน้ำหนัก ซึ่งนี่คือหลักการเดียวกลับกลุ่ม wax และ oil ที่เราคุ้นเคย
Behentrimonium Methosulfate มีคุณสมบัติ
ลดผมชี้ฟูจากไฟฟ้าสถิต (antistatic)
บำรุงให้ผมนุ่ม (hair conditioning)
เป็นผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนกว่า
เทรนด์ตลาดโลกที่หันมาสนใจผลิตภัณฑ์อ่อนโยน
ด้วยเทรนด์ตลาดโลกจาก mordorintelligence กล่าวว่า ผู้คนที่มี อาการของ sensitive skin มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ อาการในที่นี้ คือ คัน แสบ ร้อน แห้ง ตึง (itching, burning, stinging, tightness, and dryness) ซึ่งอาจเกิดจากอาการของภูมิแพ้ตั้งแต่กำเนิดและถูกกระตุ้นจากสภาวะแวดล้อมและการใช้ชีวิตที่ทำเกิดให้ผิวที่ไวขึ้นได้ ทำให้เกิดการเติบโตของผลิตภัณฑ์เพื่อ sensitive skin มากขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกัน เทรนด์การใช้ BTMS ก็มากขึ้นตามด้วย BTMS ยังสามารถใช้ในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวแบบไม่ล้างออกได้อีกด้วย
Sulfate Free ดีอย่างไร
-สามารถคงความชุ่มชื้นตามธรรมชาติได้
-คงสีของผมที่ทำสีไว้ไม่ให้จางลง
-อ่อนโยน ไม่ระคายเคืองต่อหนังศีรษะ
-อ่อนโยนต่อดวงตา
-เลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นพิษ
-เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีสารพิษตกค้าง
ข้อจำกัดการใช้ในกฎหมาย
ใน European Commission หัวข้อ SCCS opinion ไม่มีข้อจำกัดการใช้ของ BTMS แต่ยังมีอยู่ในรายการของ BTAC แม้กระทั่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดชื่อและปริมาณของวัตถุที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ฉบับที่ 6 ก็มีการจำกัดการใช้ของ BTAC, CTAC และ STAC ฉะนั้นอาจอนุมานได้ว่า เนื่องจาก ความปลอดภัยจึงทำให้มีข้อจำกัดในการใช้ของเกลือ Chloride ในขณะที่ Methosulfate นั้นไม่มี
ข้อแนะนำในการใช้
จริงๆแล้วทุกสาร ทั้ง BTAC STAC CTAC BTMS STMS CTMS นั้นมีคุณสมบัติในแบบที่แตกต่างกัน ฉะนั้น ต้องเลือกใช้ให้ถูกตามวัตถุประสงค์ เกลือ Methosulfate นั้นดูจะอ่อนโยนกว่า แต่ก็ไม่สามารถเคลม sulfate-free ได้ และเมื่ออยากเคลม sulfate-free ก็คงจะต้องเลือกใช้กลุ่มเกลือ Chloride แทน
สำหรับผลิตภัณฑ์ Cationic Surfactant กลุ่มนี้ รายการที่สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามนี้