Pride month ช่วงแห่งการเฉลิมฉลองในเดือนมิถุนายน เพื่อสนับสนุนความหลากหลายและความเท่าเทียม
เมื่อเข้าเดือนมิถุนายนของทุกปี หลายคนอาจจะเห็นว่าหลายธุรกิจ หลายสินค้า หลายสถานที่ มีการประดับสีรุ้งอยู่มากมายใช่ไหมคะ? แล้วรู้ไหมว่ามีความหมายว่าอย่างไร? ทำไมถึงต้องเป็นสีรุ้งด้วย
ปีนี้ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย ได้จัดพาเหรดยิ่งใหญ่ขึ้น เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 พร้อมกับความรู้สึกปลดปล่อยหลังจากที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมใหญ่ในช่วงแพร่ระบาดของโควิด-19 และการเปิดกว้างของสังคมที่เพิ่มมากขึ้น กับ “บางกอกนฤมิตรไพรด์” “Bangkok Naruemit Pride 2022” ขบวนพาเหรดสีรุ้งอย่างเป็นทางการครั้งแรกในกรุงเทพ เพื่อตอกย้ำเรื่อง ‘ความเท่าเทียมทางเพศ’ และ ‘คนเท่ากัน’
จากที่เห็นตามสื่อเราเห็นสีรุ้งถูกประดับประดาบนท้องถนน การแต่งกาย เรือนร่างที่มีสีสันและเครื่องสำอางที่ถูกแต่งแต้มโดยไม่จำกัดเพศ ทุกคนได้แสดงความงามออกมาในแบบของตัวเอง หรือแบบ Inclusive Beauty มาตรฐานความงามที่เปิดกว้างไม่นิยามเพศ
#bangkoknaruemitpride2022 #BangkokPride2022 #pridemonth2022
ทำไมต้องเดือนมิถุนายน
เดือนมิถุนายน เป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ที่ถูกประกาศโดย ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ใน ปี 2009 จากเหตุการณ์สำคัญในปี 1969 เพื่อสร้างแรงผลักดันให้สังคม ยอมรับความแตกต่างระหว่างกัน จะมีการเฉลิมฉลองด้วยพาเหรด ต่างวันกันไปในแต่ละประเทศทั่วโลก
ธง 6 สีของ Pride มีความหมายว่า
สีแดง : ชีวิต (Life)
สีส้ม : การเยียวยา (Healing)
สีเหลือง : แสงอาทิตย์แห่งความหวัง (Sunlight)
สีเขียว : ธรรมชาติ (Nature)
สีฟ้า สีคราม : ศิลปะ (Art)
สีม่วง : จิตวิญญาณ (Spirit)
Inclusive Beauty
Inclusive Beauty หมายถึง ความงามที่ไม่ได้แบ่งแยก ทั้ง อายุ เพศ รูปร่าง เชื้อชาติ และความสามารถทางร่างกาย สำหรับ Pride นั้น หัวข้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงคงจะเป็น Gender Equality ความเท่าเทียมทางเพศ
สำหรับในอุตสาหกรรมความงามนั้น Inclusive Beauty จะหมายถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อคนทุกคน แทนที่เดิมผลิตภัณฑ์สำหรับผู้หญิงซึ่งมักต้องเป็นสีชมพู มีสีอ่อนหวาน จะกลายเป็น Gender-Neutral หรือ Genderless ที่หมายถึงเครื่องสำอางนั้นไม่ได้ระบุเพศ ใครจะใช้ก็ได้ ไม่ต้องเขินอาย หรือจะเป็นการออกกลุ่มสินค้า Men care เพื่อให้เขามีโอกาสได้ใช้บ้าง หรือการมองว่าผู้ชายทาเล็บหรือแต่งหน้านั้นไม่ใช่เรื่องแปลกใดใด แม้จะเป็นตลาดที่ดูเล็ก แต่ก็สร้างโอกาสที่ยิ่งใหญ่ให้กับแบรนด์สินค้าให้ผู้คนรู้จักได้เช่นกัน
Pride กับแบรนด์ความงาม
อีกหนึ่งสีสันของแบรนด์เครื่องสำอางที่เห็นได้คือ การมีคอลเลคชันพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น สินค้า Limited Edition ที่ออกมาเฉพาะช่วงเดือน Pride การเปลี่ยนแพคเกจให้น่าดึงดูดสายตา ให้เห็นความเป็นพวกเดียวกันกับผู้บริโภคและสนับสนุนความเท่าเทียมกันแล้ว ยังมีการแบ่งเงินจากการซื้อสินค้าเพื่อบริจาคสนับสนุนในกิจกรรมของการเคลื่อนไหวทางสังคมด้านความเท่าเทียมกัน
ตลาดความงามของ Pride
◾ โลกเปลี่ยนไปแล้ว พลังของ Gen Z (เกิดในช่วงปี 1997 – 2012) คนรุ่นใหม่กับแนวคิดใหม่เพื่อโลกที่ดีงาม
กล้าเปลี่ยนโลก กล้าเรียกร้อง ทั้งเรื่อง สิ่งแวดล้อม การเหยียดเชื้อชาติ สีผิว ความเท่าเทียมทางเพศ รวมถึง Genderless เรียกร้องให้เปิดกว้างเรื่องความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+)
◾ อำนาจในการซื้อนั้น ต้องบอกว่าผู้หญิงนั้นมีพลังในการใช้จ่ายอยู่แล้ว เมื่อรวมกับกลุ่ม LGBTQ+ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังในการใช้จ่ายสูงเช่นกัน รวมถึงพฤติกรรมที่ใส่ใจในการดูแลตนเองให้ดูดีอยู่เสมอ จึงทำให้คนกลุ่มนี้เป็นลูกค้าที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมความงาม
◾ จากการสำรวจ เกือบ 40% ของผู้ใหญ่อายุ 18-22 ปีแสดงความสนใจผลิตภัณฑ์ความงามแบบ Genderless (เช่นผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและเครื่องสำอาง) (NPD’s iGen Beauty Consumer report)
◾ 92% ของผู้บริโภคอ้างว่าไว้วางใจ บริษัทหรือแบรนด์เครื่องสำอางที่สนับสนุนประเด็นทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกลุ่มประชากรที่อายุน้อย (การศึกษาจากสถิติอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในปี 2560)
Pride เป็นภาพลักษณ์ที่ดีต่อแบรนด์
การตลาดสมัยใหม่ ต้องเริ่มเข้าใจในสังคมยุคใหม่ที่มีการเปิดกว้างขึ้น และขับเคลื่อนในเรื่องต่างๆ และสามารถใช้กระแสเหล่านี้ในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อแบรนด์ และส่งเสริมสังคมในทางบวกมากขึ้น การสนับสนุนกลุ่ม LGBTQ+ นั้นจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์สมัยใหม่ให้กับแบรนด์และสินค้า ด้วยการสร้างแคมเปญหรือการสื่อสารทางการตลาดแบบไร้เพศ หรือ Neutral เพื่อสื่อให้ได้กับทุกเพศที่สามารถกลายมาเป็นลูกค้าได้ ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว จะมีลักษณะ พูดถึงปัญหาผิว ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ ฉลากสินค้าเรียบง่ายไม่แบ่งโทนสีเรื่องเพศ มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ โดยการแสดงความเท่าเทียมทางเพศ จะเห็นได้จากแบรนด์ต่างในหลากหลายอุตสาหกรรม ออกผลิตภัณฑ์ Limited Edition เป็นโลโก้ เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ ออกแคมเปญโฆษณาต่างๆ ในช่วงนี้ผ่าน Social Media เพื่อแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนความเท่าเทียมกันทางเพศ
Raw material จะสนับสนุนความเท่าเทียมอย่างไรได้บ้าง
ทางฝั่งวัตถุดิบไม่ต้องเสียใจว่าจะไม่ได้มีส่วนร่วมกับกระแส Genderless หรือ Pride เพราะทุกๆคนยังต้องการบำรุงผิว ผม และ การแต่งแต้มสีสัน เพื่อให้มีความงามในแบบฉบับบที่เป็นของตัวเอง เราสามารถบอกกล่าวได้ว่า วัตถุดิบนั้น ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพแล้วว่าให้ผลดีกับทุกเพศในผลการทดสอบ เช่น AquaCacteen , Anagain
เรามี Pigments ที่สร้างสรรค์สีได้มากกว่าพันเฉดสี เพิ่มความสดใสให้กับธีมหลากสีนี้ พร้อมกับการแสดงความเป็นตัวเองอย่างที่สุด
หรือ อิมัลซิไฟเอออร์ที่มาพร้อมคุณสมบัติ Adaptation ไม่ว่าใคร เพศไหน อยู่ที่ไหน ก็สามารถใช้ Emulsion ที่สบายผิวได้ อย่าง Emulium® Mellifera MB